เขียนโดย: admin(ก๊อต)

วันที่โพส 01/04/2021

มาตรการกู้ “เศรษฐกิจ” กับ “CRISIS” COVID-19

 

10 เมษายน 2563

 

ขณะนี้วิกฤติโรคระบาดกำลังพุ่งขึ้นสูงมาก ศูนย์กลาง COVID-19 ระบาดอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และกำลังกระจายออกสู่ต่างจังหวัด พร้อมทั้งยังมีคนไทย และคนต่างชาติเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ ตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับ 2,500 คน และยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1% ทุกอาทิตย์ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 32 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10-04-63) ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน มากกว่าคนหนุ่มสาว

 

แม้ปัญหาสาธารณสุขจะเริ่มควบคุมได้ แต่ปัญหาธุรกิจและเศรษฐกิจเลวร้ายลง บริษัทต่างปิดตัวกันเพิ่มขึ้นทุกขณะ ทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในตลาดหุ้น เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากการขาดสภาพคล่อง รายได้ไม่มี มีแต่รายจ่าย รวมทั้งหนี้สินที่มีอยู่มากล้นพ้นตัว พนักงานถูกเลิกจ้าง ต้องออกจากงาน และภาวะคนว่างงานเพิ่มทุกขณะ กำลังจะกลายเป็นปัญหาสังคม และนำไปสู่ปัญหาการเมืองในอนาคตต่อไป

 

รัฐบาลทำงานอย่างหนัก เพื่อพยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือเรื่องอาหารที่กำลังจะไม่พอ แย่งกันซื้อ และมีการกักตุนสินค้า อาหารแห้งจาก OUT-LET แทบทุกแห่ง

 

มาตรการที่ 1 : รัฐบาลจะเพิ่มกระแสเลือดทางเศรษฐกิจ คือทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ แทนที่จะปล่อยให้เป็นปัญหากระแสเงินหมุนเวียน แบบในปีต้มยำกุ้ง ด้วยการปิดสถาบันการเงินทำให้เศรษฐกิจขาดเลือดหมุนเวียนการเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อย และผู้ตกงานก็คือ การเพิ่มกำลังซื้อ และบริโภคจากเบื้องล่างให้กระจายสู่บนได้ผลพอควร เพื่อประชาชนที่มีรายได้น้อย ผู้ตกงานจะได้ลดแรงกดดันและการหวาดผวากลัวไม่มีเงินจะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ถึงแม้ว่ามาตรการนี้จะได้ผลระยะสั้น แต่ก็เกิดปัญหาตามมาคือการกักตุน และการเก็งกำไร

 

มาตรการที่ 2 : การยืดหนี้ ให้กับกลุ่มคนรายได้น้อย คนชั้นกลาง ให้มีโอกาสหายใจและกำลังใจที่จะยืดชีวิตต่อไปได้

 

มาตรการที่ 3 : กำลังกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ เช่น IMF แบบในอดีต เพื่อนำเงินกู้มาใช้หมุนเวียนเศรษฐกิจ

 

ถ้าจะลองดูว่ามีทางไหนอีกบ้าง ที่จะช่วยแก้วิกฤติด้านการเงินที่กำลังลุกลามเหมือนปี 2540 ก็อาจจะลองมองดูในมหภาคสัก 3 ด้าน

  1. โครงการถุงยังชีพธงฟ้า ให้กับผู้มีรายได้น้อยและครอบครัวผู้ตกงาน แก้ปัญหาสินค้า ปัจจัยและอาหารที่จำเป็นเหมือนสมัยน้ำท่วมใหญ่ การได้มาด้วยถุงยังชีพ ควรจะเพิ่มจากการว่าจ้าง SME ด้านอาหาร ในแต่ละเขตจัดทำขายให้กับรัฐ เพื่อรัฐจะได้นำไปแจกจ่ายแก่ผู้ด้อยโอกาส 2 กลุ่ม เป็นการหมุนเวียนรายได้ และสินค้า เกิดจากการจ้างแรงงาน และเป็นผลผลิตสวัสดิการอาหารของรัฐไปพร้อมกัน
  2. ยืดหนี้ส่วนบุคคล และธุรกิจ SME ด้วยการให้ TAX CREDIT หรือ TAX COUPON แก่ผู้ค้าให้ผ่อนระยะยาวได้ 2-3 ปี โดยไม่ต้องกู้ IMF มาเพิ่มสภาพคล่องให้เกิดการพัฒนาของรัฐ
  3. ระยะยาวคือสร้างวิกฤตให้มีโอกาส ก็คือโอกาสเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตยานยนต์จากน้ำมันมาเป็น EV (ELECTRIC VEHICLE) ซึ่งผลิตจักรยานยนต์ TAXI VAN เล็ก และรถเล็กปีละ 500,000 คัน จากนิคมอุตสาหกรรม EEC โดยรัฐบาลว่าจ้างให้ผลิตเป็น OEM พร้อมทั้งจัดกองทุนกู้ เพื่อ EV ให้ TAXI จักรยานยนต์สามารถ TRADE รถเก่ามาเป็นรถปลอดมลพิษพร้อมทั้งเสริมด้วยมาตรการปิดล้อมไม่ให้รถน้ำมันเข้ามาภายในกรุงเทพฯ แก้ปัญหาฝุ่นจิ๋วอากาศเป็นพิษไปพร้อม ๆ กัน ได้ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลดการนำเข้าน้ำมันไปในตัว 3 มาตรการสั้นๆ และยาวนี้ อาจเป็นข้อเสนอที่จะช่วยเสริมการแก้ปัญหาได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

 

เขียนโดย : รองศาสตราจารย์มานพ พงศทัต (RE-CU)